วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ใบงานที่ 4 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา”


 โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
         เป็นโครงงานทีใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวนและคำถามคำตอบไว้พร้อมผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
       
 โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่าง เช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาโดยการสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล หลักภาษาไทย  และสถานที่สำคัญของประเทศไทย โครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์ วิถีชีวิตของคนไทยพวน โปรแกรม ดนตรีไทยแสนสนุก  โปรแกรม ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต โปรแกรมสำนวนไทยพาสนุก โปรแกรมฝึกอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ โปรแกรมเรียนรู้คณิตศาสตร์


        โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อมผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงาน ประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ตัวอย่างโครงงาน เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล ตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการชำกิ่งกุหลาบ หลักภาษาไทย และสถานที่สำคัญของประเทศไทย เป็นต้น
Credit: http://namkwanmay.wordpress.com

ตัวอย่างโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา 
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาเช่น โครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์ หรือการพัฒนาบนเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นต้น
โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้วิชาเคมี


    







โปรแกรมส่งเสริมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์



โปรแกรม ดนตรีไทยแสนสนุก (Thai Musical) : Developer Message : " ดนตรีไทยเป็นดนตรีที่มีความไพเราะเป็นอย่างยิ่ง และเป็นวัฒนธรรมของชนชาวไทยที่สืบทอดมาแต่โบราณการ อีกทั้งเป็นการสื่อสารความคิดอันชาญฉลาดของบรรพบุรุษของชนชาวสยาม และดนตรีไทยนี้เองสามารถประยุกต์ให้เข้ากับดนตรีสากลต่างๆได้อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างไพเราะเสนาะหูเป็นอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นเราทางผู้พัฒนาจึงตระหนักถึงความสำคัญของดนตรีไทย และได้คิดที่จะพัฒนาโปรแกรม ดนตรีไทยแสนสนุกเพื่อให้เยาวชนสามารถเรียนรู้เครื่องดนตรีไทยที่มีอยู่มากมาย ได้เรียนรู้และเข้าใจหลักการทำงานของเครื่องดนตรีชิ้นนั้น และยังมีอิเล็คโทนดนตรีไทยเข้าร่วมอยู่ และยังให้อาจารย์สามารถเป็นสื่อการสอนวิชา ดนตรีไทยได้ ซึ่งทำให้เด็กนักเรียนเรียนรู้และเข้าใจเครื่องดนตรีของไทยอย่างมากขึ้น และสนุกสนานกับการเรียนรู้


Effective.English.v1.001.034
Effective.English เป็นโปรแกรมสำหรับฝึกทักษะการเรียนรู้สำหรับเด็กวัยอนุบาล ถึงนักเรียนชั้นประถมในช่วงชั้นที่ 1(ป.1-ป.3) โปรแกรมนี้ประกอบไปด้วยวิธีฝึกทักษะมากมาย เช่น เกมใบ้คำ ตัวอย่างการลากเส้นเขียนอักษรภาษาอังกฤษ การฝึกอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ การทายคำศัพท์จากรูปภาพ เกมจับคู่ เกมทายลำดับตัวเลข ศัพท์เกี่ยวกับรูปเรขาคณิต เป็นต้น


Get Clever

ในโปรแกรมนักเรียนสามารถบรรยายความรู้ ความเข้าใจ แสดงความคิดคิดเห็นด้วยการพิมพ์ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือด้วยการเขียนในใบงาน ที่พรินท์มาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โปรแกรมสามารถบันทึกเสียงตนเอง แทนเสียงตัวละครในเรื่อง และเปิดฟังเสียงพากและฟังลีลาการใช้ภาษาของตนเองได้ 







       สำหรับโปรแกรม e – Book นั้น เป็นโปรแกรมที่เปรียบได้กับ การทำหนังสือให้มีชีวิตบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งโปรแกรมนี้ดิฉันมีโอกาสได้เรียนและลงมือปฏิบัติจริงในช่วงชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ ดิฉันเลือกที่จะทำหนังสือวรรณคดี เรื่อง สังข์ทอง ผ่านการใช้โปรแกรมนี้ และเมื่อทำเสร็จก็พบว่ามันไม่ยากอย่างที่คิดไว้  ซึ่งในตอนแรกนั้นก็รู้สึกหวั่นใจกลัวว่าจะทำออกมาได้ไม่ดีนัก แต่พอลงมือปฏิบัติจริงก็รู้สึกได้ทันทีว่าเทคโนโลยีและสื่อการเรียนรู้ในสมัยใหม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับการศึกษาไทยเป็นอย่างมาก หากเรานำมาใช้ในทางที่ถูก มันก็จะยิ่งมีคุณค่าอย่างอนันต์กับมนุษย์เรา ดังจะเห็นได้จากโปรแกรม e – Book


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น